วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557

PUNSRI MODEL "คณะครูร่วมยินดีรับเกียรติบัตรผลO-NET 2555 ก้าวหน้าเป็นอันดับ1ของสพป.สร1"


ภาพแห่งความสำเร็จคณะครูร่วมรับเกียรติบัตรประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕โรงเรียนมีผลพัฒนาในการประเมิน o-net สูงสูดของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์เขต 1
กิจกรรมส่งเสริมที่สำคัญได้แก่ การสร้างกำลังใจแก่เด็ก สร้างความตระหนักให้นักเรียนเห็นคุณค่าในตัวเอง ให้โอกาสผู้เรียน ครูต้องเป็นแบบเป็นเพื่อนคิดของนักเรียนได้ มองข้ามความผิดพลาด ลืมปมด้อยสร้างจุดเด่น ไม่ตอกย้ำซ้ำเติม ประคับประคองและส่งเสริม ปฏิบัติกับนักเรียนทุกคนต้องเท่าเทียมกัน ทำให้นักเรียนทุกคนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะผู้เรียนตามกำหนด


รูปแบบการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
PANSRI MODEL โรงเรียนบ้านพันษี
ภาคเรียนที่ ๒ / ๒๕๕๕
……………………………………………………………

๑. ชื่อรูปแบบ พันษีโมเดล (PUNSRI MODEL)
๒. แนวคิดและที่มา
จากผลการประเมินภายนอกรอบที่ ๓ จากสำนักรับรองมาตรฐานและและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) ปี ๒๕๕๕ ไม่รับรองมาตรฐานในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในด้านผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เนื่องจากผลการประเมินคุณภาพนักเรียนด้วยแบบทดสอบระดับชาติ (ป.3, ป.6, ม.3 ) ไม่ได้ระดับตามเกณฑ์มาตรฐานจึงนับเป็นนโยบายสำคัญของโรงเรียนบ้านพันษีเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ
๓. วัตถุประสงค์
๑. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
๒. เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน ตัวชี้วัดชั้นปี
๓. เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนด้านการอ่าน การเขียนและการคิดวิเคราะห์
๔. เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน

๔. ขั้นตอนและกระบวนการ PANSRI MODEL โรงเรียนบ้านพันษึได้ดำเนินการหาแนวทางการยกระดับผลสัมฤทธิ์ โดยมีรายละเอียดการดำเนินการดังนี้
๑. Process กระบวนการพัฒนาครู บุคลากรให้มีความรู้ ปรับปรุงหลักสูตร และสร้างความตระหนักแกนักเรียน โรงเรียน
๒. Action การปฏิบัติตามหลักยุทธศาสตร์ 3 ด้าน สร้างความร่วมมือครู ผู้ปกครอง นักเรียน
๓. Network - Student สร้างเครือข่ายนักเรียนที่มีภาวะผู้นำแต่ละสาระ สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบ เพื่อนช่วยเพื่อน ครูช่วยครู ผู้ปกครองช่วยครู
๔. Supervising การนิเทศติดตามกำกับโดย ผู้บริหารและคณะครู
๕. Reflection การสะท้อนผล เป็นการประเมินหรือตรวจสอบกระบวนการแก้ปัญหา ผลที่เกิดสู่ครู นักเรียน และผู้ปกครองให้รับทราบ
๖. Information จัดทำข้อมูลสารสนเทศ (เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้เป็นสารสนเทศสำหรับในการประเมิน ปรับปรุงและพัฒนานักเรียนในระดับต่อไป)

๕. นวัตกรรม/สื่อ
๑. แผนการจัดการเรียนการสอน
๒. แบบทดสอบตามมาตรฐานและตัวชี้วัด แบบประเมินด้านการอ่าน การเขียนและการคิดวิเคราะห์
และแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
๓. สื่อ ICT
๔. ห้องสมุด แหล่งเรียนรู้

๖. ระยะเวลา/ปฏิทิน/กำหนดการ
๑ - ๒ พ.ย. ๕๕ วิเคราะห์ข้อมูล
๕ - ๖ พ.ย. ๕๕ ประชุมผู้เกี่ยวข้องในการยกระดับผลสัมฤทธิ์
๗ พ.ย. ๕๕ - 31 ม.ค. ๕๖ ติดตามกระบวนการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทุกสาระตามPUNSRI MODEL
๒ - ๕ ม.ค. ๕๖ ทดสอบโดยใช้แบบทดสอบpre-0net วิเคราะห์ข้อมูล
๖ - ๓๑ ม.ค. ๕๖ ประเมิน แก้ไข พัฒนา ปรับปรุง เสริมแรง
๒ - ๓ ก.พ. ๕๖ ทดสอบ 0-net
๑๕ - ๒๐ มี.ค. ๕๖ ประชาสัมพันธ์ผลการทดสอบ
๒๐ - ๒๕ มี.ค. ๕๖ จัดกิจกรรมพันษีนิทรรศน์ (ผลการเรียนรู้สุ่ชุมชน)

๗. ผู้รับผิดชอบ
๑. ผู้บริหาร (สิบโทบุญโสม ดีเลิศ ผอ./ นายธนากร จิตรเอก รองผอ.)
๒. หัวหน้าวิชาการ (นางนฤมล ดีนาน)
๓. ครูประจำกลุ่มสาระ (ครูทุกคน)

๘. เครื่องมือที่ใช้
๑. แบบนิเทศติดตาม
๒. แบบทดสอบตามตัวชี้วัด
๓. แบบประเมินสมรรถนะผู้เรียน
๔. แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

๙. บทบาทของผู้บริหารโรงเรียน/ครูผู้สอน/บุคลากรอื่น/ผู้ปกครอง

๑. ผู้บริหารเป็นผู้นิเทศติดตาม
๒. ครูผู้สอนเป็นผู้ดำเนินการตามรูปแบบที่กำหนด
๓. คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองเป็นผู้สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของโรงเรียน

๑๐. กิจกรรมหลักที่จะดำเนินการ
๑. วิเคราะห์ข้อมูลผลการสอน ผลการสอบ ปัญหาที่พบ
๒. สร้างเครื่องมือในการพัฒนาผู้เรียน แผนการสอน หาคุณภาพของเครื่องมือ
๓. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามPUNSRI MODEL
๔. นิเทศติดตามประเมินผล
๕. วิเคราะห์ สรุปผล ปรับปรุงการดำเนินงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น